
โภชนบำบัดคืออะไร

โภชนบำบัด
หรือ อาหารบำบัดโรค (Diet therapy) หมายถึง การใช้อาหารช่วยในการรักษาโรคโดยการดัดแปลงอาหารธรรมดาให้
เป็นอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ และจัดให้ถูกหลักโภชนาการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการของโรค รวมทั้งป้องกันการเกิดอาการทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ได้รับการรักษาโรค อาหารมีประโยชน์และความสำคัญต่อผู้ป่วยมาก เพราะอาหารที่ผู้ป่วยได้รับขณะเจ็บป่วยมีส่วนทำให้อาการของโรคบรรเทาลง หรือกำเริบขึ้นได้ดั้งนั้นการให้โภชนบำบัดที่เหมาะสม จะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1. ป้องกันและแก้ไขภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
2. ปรับปริมาณสารอาหารบางอย่างให้อยู่ในระดับที่ร่างกายจะสามารถใช้ได้
3. ปรับน้ำหนักของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้มี สุขภาพที่แข็งแรงและป้องกันอาการทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้น
4. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการของโรคที่เป็นอยู่ เช่น โรคตับอักเสบ การลดอาหารไขมันและเพิ่มคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน จะช่วยในการ เสริมสร้างเซลล์ของตับทำให้อาการของโรคดีขึ้น
5. ช่วยทำให้อวัยวะที่พิการได้พักหรือลดการทำงานลง เช่น การให้ อาหารอ่อนแก่ผู้ป่วยโรคกระเพาะ จะช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้ ได้พักผ่อน หรือทำงานน้อยลง ทำให้อาการของโรคบรรเทาลง
เป้าหมายการรักษาและการตั้งเป้าหมาย
เป้าหมายคือการลดความเสี่ยงของโรคที่มากับโรคอ้วน หรือหากมีแล้วเป็นการชะลอการดำเนินของโรค โดยการลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยเป้าหมายการลดน้ำหนักคือ 5 - 10 กิโลกรัม ระยะเวลาควรตั้งเป้าไว้ระยะยาวตลอดชีวิต คงน้ำหนักไว้อย่างน้อย 6 เดือน ก็สามารถที่จะลดน้ำหนักได้ต่อไป
ขั้นตอนการให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ป่วย
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การประเมินภาวะโภชนาการ
2. การวางแผนให้คำแนะนำ
3. การให้ความรู้และคำแนะนำ
4. การติดตามและประเมินผล
ในการควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยโรคอ้วนนั้นจะต้องเลือกวิธีการในการควบคุมน้ำหนักให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากพฤติกรรมการกินและกิจกรรมของผู้ป่วยในแต่ละรายนั้นไม่เหมือนกัน และหากการควบคุมน้ำหนักได้ผลก็ต้องควรให้คำชมเชยด้วย เนื่องจากคนอ้วนเป็นกลุ่มที่ต้องการกำลังใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอย่างมาก โดยมีแนวทางในการควบคุมน้ำหนัก ดังภาพ
![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() |